ข้อมูลทั่วไป



            โครงการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลา ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดย กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีว่าโรงพยาบาลโรคจิตซึ่งให้การรักษาคนไข้โรคจิตจนอาการทางจิตทุเลาแล้ว ยังตกค้างอยู่ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก จำหน่ายไม่ออกเพราะไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีญาติหรือมีแต่ถูกทอดทิ้งไม่ยอมมารับกลับ ทำให้เสียแรงงานไป แทนที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลโรคจิตไม่มีเตียงว่างหมุนเวียนที่จะรับคนไข้โรคจิตเข้ารับการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเดือดร้อนเห็นสมควรที่จะจัดตั้งนิคมสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาขึ้น เพื่อรับคนไข้โรคจิตทุเลาไว้ฝึกอาชีพ และจัดหางานให้ทำ เพื่อจะได้ใช้แรงงานคนไข้โรคจิตให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจให้สามารถดำรงและดำเนินชีวิตด้วยตนเองด้วยดี แทนที่จะตกค้างอยู่ในโรงพยาบาลจนตลอดชีวิต (ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีด่วนมาก ที่ สร. 0501/459 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2507) คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการรายละเอียดเกี่ยวกับการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนไข้โรคจิตทุเลาและให้หลีกเลี่ยงคำว่า "นิคม" ให้ใช้ชื่ออื่นแทนซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมพิจารณาจัดตั้งชื่อและจัดโครงการ โดยใช้ชื่อว่า "โครงการสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลา" และให้กรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้ดำเนินการด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา และอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2507 (ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ด่วนที่ สร. 0501/11034 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2507) กระทรวงสาธารณสุข ได้ตกลงกับกระทรวงมหาดไทย ให้กรมประชาสงเคราะห์เป็น ผู้ดำเนินงานจัดตั้งสถานสงเคราะห์ขึ้น มีสภาพเป็นสถานฟื้นฟู เพื่อการสงเคราะห์และฟื้นฟูคนไข้โรคจิตทุเลาให้สามารถดำรงชีวิตตนเองก่อนที่จะออกสู่สังคม

          กรมประชาสงเคราะห์ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสถานสงเคราะห์แห่งนี้ขึ้น ณ ตำบลรังสิต (คลอง 6) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และเปิดดำเนินการรับคนไข้โรคจิตที่มีอาการทุเลาแล้ว จากโรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2511 โดยให้การสงเคราะห์ รุ่นแรกจำนวน 19 ราย และได้พิจารณาตั้งชื่อสถานสงเคราะห์ว่า "สถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลา" ภายหลัง นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว กรรมการที่ปรึกษาการสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาได้กรุณานำเรื่องการพิจารณาตั้งชื่อใหม่ของสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลา กราบทูลหารือเสด็จในกรม กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2512 และเสด็จในกรม ฯ ได้ประทานกรุณาตั้งชื่อใหม่ว่า "บ้านกึ่งวิถี" (Half Way House) 

          ต่อมาสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาหญิงบ้านกึ่งวิถี (บ้านกึ่งวิถีหญิง) จัดตั้งขึ้นตามโครงการ "สงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาหญิง" ซึ่งสถานสงเคราะห์บ้านกึ่งวิถี ได้พิจารณาเห็นว่าคนไข้โรคจิตทุเลาหญิงที่บำบัดรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลโรคจิต มีจำนวนมากขึ้น จนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับได้ จึงได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาหญิงบ้านกึ่งวิถีขึ้น เริ่มเปิดดำเนินการรับผู้รับบริการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยดำเนินงานตาม พระราชบัญญัติกรมส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 , พระราชบัญญัติกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติกรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาใช้ในการ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น