แผนภูมิการบริหารงาน




                              หน้าที่และความรับผิดชอบ
           ของสถานสงเคราะห์คนไข้โรคจิตทุเลาหญิงบ้านกึ่งวิถี
                   แบ่งการบริการออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

>>>>>>>งานภายในสถานสงเคราะห์<<<<<<<  


1. งานสงเคราะห์                                                                             

ให้การสงเคราะห์ด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ตลอดจนของใช้ประจำตัวที่จำเป็นต่างๆ



2. งานการรักษาพยาบาล                                                               

ให้เจ้าหน้าที่พยาบาลติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลโรคจิตเพื่อให้การบำบัดรักษาอาการทางจิตอย่างต่อเนื่อง และให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย


3. งานฟื้นฟูสมรรถภาพและปรับสภาพ                                         

ได้แก่ การจัดกิจกรรมบำบัด และจัดกลุ่มบำบัด เช่น กลุ่มวาดรูป กลุ่มอ่านหนังสือ กลุ่มดนตรีบำบัด และกลุ่มกระตุ้นความสนใจ เป็นต้น


4.งานการฝึกอาชีวบำบัด                                                                

ฝึกการทำพรมเช็ดเท้า, เย็บปักถักร้อย, ตัดเย็บเสื้อผ้า, การเกษตร และขอรับการสนับสนุนจากการศึกษาพิเศษ จัดหลักสูตรฝึกอบรม ศิลปประดิษฐ์จากเศษวัสดุ และวิชาชีพอื่นๆ ตามความเหมาะสมในระยะสั้นๆ


 นอกเหนือจากการฝึกอาชีพดังกล่าวแล้ว สถานสงเคราะห์ฯ ยังจัดให้ผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมช่วยงานต่างๆ ในสถานสงเคราะห์ เช่น ช่วยงานครัว, การรักษาความสะอาดโรงครัว อาคารต่างๆ และบริเวณโดยรอบสถานสงเคราะห์ เพื่อให้ได้ทำงานและประกอบกิจกรรมร่วมกัน เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกไปอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้

       

5.งานสังคมสงเคราะห์  

จัดนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้คัดเลือกคนไข้ที่อาการ ทางจิตทุเลาแล้วจากโรงพยาบาลโรคจิต ให้เข้ารับการสงเคราะห์ จัดทำทะเบียนประวัติ ติดต่อญาติ แก้ไขพฤติกรรมต่างๆ เฉพาะราย และจัดหางานให้ทำในกรณีสามารถออกไปประกอบอาชีพได้


>>>>>งานภายนอกสถานสงเคราะห์<<<<<<<  




1. ดำเนินการสำรวจข้อมูล และพิจารณาให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้มี รายได้น้อย ไร้ที่พึ่งและคนพิการ ในเขตจังหวัดปทุมธานี


2. ออกหน่วยเยี่ยมราษฎรร่วมกับคณะผู้ว่าราชการจังหวัด ตามตำบลต่าง ๆ ในเขตจังหวัดปทุมธานี ตามโครงการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ ของจังหวัดปทุมธานี

3. พิจารณาคัดเลือกผู้รับบริการ ที่มีความประพฤติดี และได้รับการฝึก ทักษะแล้วออกทำงานภายนอกสถานสงเคราะห์ ได้แก่ ทำงานร้านเสริมสวย ร้านขาย อาหาร ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ โดยมีนักสังคมสงเคราะห์และพยาบาลติดตามเยี่ยม เยียนและให้คำแนะนำปรึกษา



4. ติดต่อญาติและนำผู้รับบริการเยี่ยมบ้าน เป็นครั้งคราว




5. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมภายนอก ได้แก่ การนำผู้รับบริการ พัฒนาความสะอาดในที่สาธารณะและวัดวาอารามต่าง ๆ



6. จัดทัศนศึกษานอกสถานที่ให้แก่ผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และ ทักษะเพื่อเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนานเหมือนบุคคลภายนอก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น